วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การติดตั้ง Atutor (ต่อ)

11. ระบบรายงานกรสร้างตารางข้อมูลงฐานข้อมูล atutor
12. คลิกปุ่ม Next



13. ระบบรายละเอียดผู้ควบคุมเว็บ และรายละเอียดเพิ่มเติม
14. คลิกปุ่ม Next




15. ระบุรายละเอียดผู้ใช้(ชื่ออาจารย์ : Instructor) คนแรก
16. คลิกปุ่ม Next




17. โปรแกรมแสดงพาทในการเก็บเนื้อหาต่างๆ ชื่อว่า content




ให้ไปสร้างไดเร็กทอรี่ชื่อว่า content


สร้างไดเร็กทอรีชื่อว่า content ไว้สำหรับเก็บหลักสูตรต่างๆ

* หลังการสร้างโฟลเดอร์แล้ว กรณีใช้บนโฮสต์ติ้งจริงต้องเปลี่ยนโหมด (chmod) เป็น 777 ให้สามารถอ่านและเขียนข้อมูลเข้าไปได้
สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.cmsthailand.com/web45-47/print.php?sid=99





18. ระบบเขียนคอนฟิกเข้าไปในไฟล์ ../include/config.inc.php
19. คลิกปุ่ม Next




20. ระบบรายงานข้อมูลระบบที่ใช้ติดตั้ง ATutor
21. ให้คลิกปุ่ม Next




22. ระบบรายงานว่าการติดตั้งเรียบร้อยแล้ว
23. คลิกปุ่ม Login เพื่อเข้าระบบ




24. ระบบแสดงเว็บหน้าแรกให้ล็อกอินเข้าระบบ
โดยเราสามารถล็อกอินเข้าระบบโดยชื่อผู้ใช้สองคนคือ ชื่อผู้ดูแลระบบ และชื่ออาจารย์ ที่เราระบุก่อนหน้านี้


กรณีล็อกอินเป็น Admin


กรณีล็อกอินเป็น Instructor



* สามารถอ่านคู่มือการติดตั้งเพิ่มเติมได้ในห้อง docs หรือที่ URL : http://www.atutor.ca/atutor/docs/

สรุป
ATutor เป็นเครื่องมือที่นิยมนำมาทำระบบ E-Learning สำหรับใช้งานในโรงเรียน สถาบันการศึกษา บริษัทเอกชน สำหรับในไทยเราเอง ATutor เป็นทูลที่ได้รับความนิยมเพียงระดับหนึ่งเท่านั้น ปัจจุบัน ATutor ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ มากมายรวมทั้งภาษาไทย สามารถดูภาษาที่ ATutor รองรับอยู่ในปัจจุบัน (27/03/48) ที่ http://www.atutor.ca/atutor/translate/ สำหรับ ในที่นี้ผู้เขียนได้อธิบายเฉพาะการติดตั้ง ATotor แบบเดี่ยวๆ เท่านั้น
ปัจจุบันนี้ ATutor สามารถติดตั้งเป็นโมดูลเสริมในระบบ CMS ยอดนิยมอย่าง PostNuke, Mambo สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บท่าของ ATutor คือ ATutor.ca

การติดตั้ง Atutor

ATutor เป็นระบบ Open Source Web-based Learning Content Management System เรียกชื่อย่อว่า LCMS* ใช้ในการสร้างระบบเรียนรู้แบบออนไลน์ (E-Learning) สามารถแยกผู้ใช้งานเป็นสามส่วนคือส่วนผู้ดูแลระบบ ส่วนอาจารย์ และส่วนนักศึกษา นับเป็นระบบ LCMS ที่ได้รับความนิยมอยู่ในอันดับต้นๆ ส่วนมากทูลตัวนี้ได้รับความนิยมอยู่ในแวดวงการศึกษา
ATutor เป็นซอร์ฟแวร์ที่มีลิขสิทธิ์แบบ GPL (General Public License) หรือลิขสิทธิ์แบบฟรีนั่นเิอง ผู้นำไปใช้สามารถพัฒนาต่อยอดได้

*LCMS = LMS+CMS
LMS (Learning Management System)
CMS (Content Management System)

วิธีการติดตั้งใช้งาน LCMS ตัวนี้ผู้ใช้สามารถติดตั้งได้ 2 วิธีคือ
วิธีที่ 1 ติดตั้งแบบเดี่ยวๆ
วิธีที่ 2 ติดตั้งเป็นโมดูลเสริมในระบบ CMS อาทิ PostNuke, Mambo

ความต้องการด้านซอฟต์แวร์
• Web Server เป็น Apache หรือ IIS
• โปรแกรมภาษา PHP เวอร์ชั่น 4.2.0 ขึ้นไป
• ฐานข้อมูลเป็น MySQL เวอร์ชั่น 3.23.x ขึ้นไป
• โปรแกรม phpMyAdmin


ขั้นตอนการติดตั้ง ATutor
* ก่อนการติดตั้งท่านต้องจำลองเครื่องตัวเองเป็น Web Server ก่อน สามารถเลือก Web Server ตัวใดตัวหนึ่งตามลิ้งด้านล่างนี้
โปรแกรม ลิงค์ดาวน์โหลด
WM Server http://www.cmsthailand.com/web45-47/print.php?sid=80
AppServ http://www.cmsthailand.com/web45-47/print.php?sid=2
WAMP http://www.cmsthailand.com/web45-47/print.php?sid=58



1. ดาวน์โหลดตัวติดตั้งที่ http://www.cmsthailand.com หรือที่ http://www.atutor.ca/atutor/download.php

2. หลังการดาวน์โหลดมาให้ทำการแตกไฟล์ด้วย WinRAR หรือ Winzip

รูปแสดงโฟลเดอร์หลังการแตกไฟล์


3. ทำการคัดลอกหรืออัปโหลดตัวติดตั้ง (โฟลเดอร์ moodle) ไปใส่ในห้องเก็บเว็บไซต์

ไดเร็กทอรี่ คำอธิบาย
C:\WM\www กรณีใช้ WMServer
C:\AppServ\www กรณีใช้ AppServ
C:\InetPub\wwwroot กรณีใช้ IIS
/var/www/html กรณีใช้ระบบ Linux เก็บที่พาทหลัก
/home/username/public_html กรณีใช้ระบบ Linux เก็บที่พาทของผู้ใช้ (โดยที่ไปบนโฮสต์ติ้งจะใช้พาทนี้)

* ในที่นี้ทดสอบบนเครื่องตัวเองใช้ WMServer

รูปแสดงโฟลเดอร์ห้องเก็บตัวติดตั้ง


4. ทำการสร้างฐานข้อมูลสำหรับเก็บโปรแกรม ATutor ในที่นี้สร้างโดยใช้โปรแกรม phpMyAdmin (โดยทั่วไปบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือบนโฮสต์ติ้งเขามีบริการอยู่แล้ว)

สร้างฐานข้อมูลที่ต้องการเก็บ moodle ในที่นี้สร้างฐานข้อมูลชื่อว่า atutor

Note.
กรณีใช้บน Web Hosting จริงสามารถใช้ฐานข้อมูลที่ทางโฮสต์ติ้งให้มาหรือทำการสร้างใหม่ผ่านทาง Control Panel ที่ทาง hosting ให้บริการ

5. หลังการสร้างฐานข้อมูลเสร็จแล้วก็เริ่มติดตั้งโดยการพิมพ์ URL ดังนี้
URL คำอธิบาย
http://127.0.0.1/atutor/install/ กรณีติดตั้งบนเครื่องตัวเอง
http://www.sitename.com/atutor/install/ กรณีสร้างเป็นไดเร็กทอรี่ย่อยลึกลงไปอีกชั้น
http://www.sitename.com/install/ กรณีสร้างเป็นพาทหลักเว็บไซต์
http://lms.sitename.com/install/ กรณีสร้างเป็น sub domain ชื่อว่า lms

์Note.
ห้องสำหรับเป็นตัวติดตั้งสามารถตั้งเป็นชื่ออื่นได้ในที่นี้ทดสอบตั้งชื่อว่า atutor



6. คลิกที่ปุ่ม Install กรณีติดตั้งเป็นครั้งแรก



7. โปรแกรมรายงานลิขสิทธิ์โปรแกรม ของ ATutor เป็นชนิด GNU General Public License (GPL)
8. คลิกปุ่ม I Agree




9. ระบุรายละเอียดฐานข้อมูล MySQL
Database Hostname: ระบุชื่อโฮสต์เนมที่เก็บฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล กรณีทดสอบบนเครื่องตัวเองให้ใส่เป็น localhost
Database Port: พฮร์ตที่ใช้เชื่อต่อปกติเป็น 3306
Database Username: ชื่อผู้ใช้ กรณีทดสอบบนเครื่องให้ใช้เป็น root
Ttabase Password: รหัสผ่าน กรณีทดสอบบนเครื่องตนเองให้ปล่อยว่างไว้
Database Name: ชื่อฐานข้อมูล ในที่นี้ชื่อว่า atutor (ได้สร้างไว้ในข้อ 4)
Table Prefix: ให้ใช้ค่าเก่าเป็น AT_

10. หลังจากระบุเสร็จให้คลิกปุ่ม Next

วันอาทิตย์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ระบบจัดการเนื้อหาเว็บ

ระบบจัดการเนื้อหาเว็บ (Web Content management system)
เป็นระบบการจัดการเนื้อหา (CMS) ชนิดหนึ่ง โดยเป็นระบบที่เขียนขึ้นด้วยภาษาโปรแกรม เพื่อใช้เป็นเว็บแอปพลิเคชัน (Web Application) ในการจัดเนื้อหาของเว็บไซต์ ให้ง่ายต่อการจัดการ
การทำงานของระบบจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วย โปรแกรมสำหรับสร้างหน้าเว็บด้วยสคริปต์ที่ทำงานบนฝั่งเว็บเซิร์ฟเวอร์ และโปรแกรมที่ใช้จัดเก็บข้อมูลเช่น โปรแกรมฐานข้อมูล

ประเภท ระบบจัดการเนื้อหาเว็บ
เว็บ ท่า
ผู้คนมักจะสับสนว่า เว็บท่า หรือ พอร์ทัล (portal) คือระบบจัดการเนื้อหาของเว็บ แต่จริงๆแล้ว เว็บท่าเป็น CMS ประเภทที่รวมระบบจัดการเนื้อหาเว็บที่เน้นการทำเว็บทั่วไปเป็นหลัก โดยที่ผู้ใช้ระบบเว็บท่าสามารถปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยได้อย่างง่ายดาย แทนที่จะใช้โปรแกรมออกแบบหน้าตาเว็บอื่น ๆ เช่น ดรีมวีฟเวอร์ โกไลฟ์ หรือไมโครซอฟท์ ฟรอนท์เพจ ที่มีเนื้อหาแบบนิ่ง นอกจากนี้ ยังมีโมดูล หรือคอมโพเนนท์หลากหลายไว้เสริมความสามารถของเว็บท่าอีกด้วย

ตัวอย่างของโปรแกรมเว็บท่าที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย ได้แก่ Mambo (CMS) Joomla! PhpNuke Postnuke

บล็อก
บล็อก หรือ blog ย่อมาจาก weblog เป็นระบบที่ให้ผู้ใช้สมัครเป็นสมาชิก และได้พื้นที่บล็อกตามที่กำหนด จากนั้นสมาชิกจะสามารถปรับปรุงเนื้อหาในบล็อกของตนได้อย่างง่ายดาย กำลังเป็นที่นิยมของวัยรุ่นในขณะนี้สำหรับเขียนไดอารี่ส่วนตัว เป็นต้น

ตัวอย่างของโปรแกรมบล็อก ได้แก่ Wordpress

อี-คอม เมิร์ซ
เป็นโปรแกรมสำหรับบริหารจัดการ การขายสินค้าบนอินเทอร์เน็ต มีหน้าร้านสำหรับแสดงสินค้า ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าที่ต้องการใส่ตะกร้า และจ่ายเงินได้ภายหลังผ่านทางบัตรเครดิตเป็นต้น

ตัวอย่างของโปรแกรมอี-คอมเมิซ ได้แก่ phpShop, osCommerce และ Zen cart (ที่พัฒนาจาก osCommerce)

อี-เลิร์น นิง
เรียกอีกอย่างว่า LMS หรือ ระบบจัดการเนื้อหาเพื่อการเรียนการสอน สามารถอัปโหลดเนื้อหาของรายวิชาขึ้นระบบได้ ให้ผู้ที่เป็นสมาชิกสามารถเข้ามาดูเนื้อหาได้

ตัวอย่างของโปรแกรมอี-เลิร์นนิง ที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย ได้แก่ Moodle ATutor Blackboard WebCT

แกล ลอรีภาพ
เป็นโปรแกรมบริหารจัดการที่เน้นการแสดงภาพเป็นหลัก ผู้ใช้สามารถอัปโหลดภาพขึ้นระบบเพื่อแสดงผลได้

ตัวอย่างของโปรแกรมแกลลอรีภาพ ที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย ได้แก่ Coppermine

กรุปแวร์
เป็นโปรแกรมสำหรับการประสานงานร่วมกันผ่านระบบเครือข่าย มีฟังก์ชันการทำงานสนับสนุนการทำงานร่วมกันของทีมงาน เช่นปฏิทินนัดหมาย อีเมล กลุ่มผู้ทำงาน การบริหารโครงการ การแลกเปลี่ยนไฟล์เอกสาร เป็นต้น โดยทั่วไปแล้ว สามารถรองรับการทำงานในสำนักงานทั่วๆไปได้ถึงร้อยละ 80

ตัวอย่างของโปรแกรมกรุปแวร์ ที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย ได้แก่ dotProject eGroupware MoreGroupware phpCollab phpProjekt

วิกิ
เป็นระบบบริหารจัดการเนื้อหาเว็บที่มีแนวความคิดใหม่ โดยเปิดกว้างให้ทั้งผู้ที่เป็นสมาชิกและไม่เป็นสมาชิกสามารถแก้ไขเนื้อหาได้ แทบจะทุกส่วนของเว็บ

ตัวอย่างของโปรแกรมวิกิ ที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย ได้แก่ มีเดียวิกิ Docuwiki

กระดาน ข่าว
กระดานข่าว เป็นสถานที่แปะข้อความกระทู้ ในผู้ที่เป็นสมาชิก หรือบุคคลทั่วไปสามารถแสดงความเห็นในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องได้ เป็นที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เนื่องจากทำให้เกิดชุมชนของผู้ที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน สามารถมาพูดคุยแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นกันได้

ตัวอย่างของโปรแกรมกระดานข่าว ที่เป็นที่นิยมในประเทศไทย ได้แก่ PhpBB FudForum Invision Power Board vBulletin
ไลท์
เป็นโปรแกรมบริหารจัดงานเนื้อหาเว็บที่เปรียบเสมือนโมดูลย่อยๆ โมดูลเดียวของเว็บท่า เน้นที่การบำรุงรักษาง่าย สามารถลงระบบได้โดยไม่ต้องใช้ฐานข้อมูล แต่เก็บข้อมูลเป็นไฟล์อักขระธรรมดา

ตัวอย่างของโปรแกรมไลท์ เช่น phpFreeNews Limbo

อื่นๆ
ตัวอย่างของโปรแกรมระบบจัดการเนื้อหาเว็บอื่นๆ เช่น ระบบบริหารจัดการองค์ความรู้ ปฏิทินออนไลน์ เป็นต้น
ตัวอย่าง รายชื่อระบบจัดการเนื้อหาเว็บ
•มีเดียวิกิ
•Mambo (CMS)
•Joomla!
•PhpBB
•PHP-Nuke
•TYPO3
•Wordpress
•PostNuke
•FudForum
•Docuwiki
•dotProject
•eGroupware
•MoreGroupware
•phpCollab
•phpProjekt
•Coppermine
•Moodle
•ATutor
•e107
•Drupal
•Wordpress

แหล่ง ข้อมูลอื่น
•http://www.cmsthailand.com เว็บไซต์เกี่ยวกับ CMS ในประเทศไทย
•http://www.siamhothost.com เว็บไซต์ที่สร้างขึ้นจาก CMS เช่น joomla

วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553


e-Learning

คำว่า e-Learning คือ การเรียน การสอนในลักษณะ หรือรูปแบบใดก็ได้ ซึ่งการถ่ายทอดเนื้อหานั้น กระทำผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น ซีดีรอม เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม (Satellite) ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งการเรียนลักษณะนี้ได้มีการนำเข้าสู่ตลาดเมืองไทยในระยะหนึ่งแล้ว เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม, การเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Learning), การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ การเรียนด้วยวีดีโอผ่านออนไลน์ เป็นต้น

ในปัจจุบัน คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า e-Learning กับการเรียน การสอน หรือการอบรม ที่ใช้เทคโนโลยีของเว็บ (Web Based Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมถึงเทคโนโลยีระบบการจัดการหลักสูตร (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่างๆ โดยผู้เรียนที่เรียนด้วยระบบ
e-Learning นี้สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือ จากแผ่นซีดี-รอม ก็ได้ และที่สำคัญอีกส่วนคือ เนื้อหาต่างๆ ของ e-Learning สามารถนำเสนอโดยอาศัยเทคโนโลยีมัลติมีเดีย (Multimedia Technology) และเทคโนโลยีเชิงโต้ตอบ (Interactive Technology)

คำว่า e-Learning นั้นมีคำที่ใช้ได้ใกล้เคียงกันอยู่หลายคำเช่น Distance Learning (การเรียนทางไกล) Computer based training (การฝึกอบรมโดยอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือเรียกย่อๆว่า CBT) online learning (การเรียนทางอินเตอร์เนต) เป็นต้น ดังนั้น สรุปได้ว่า ความหมายของ e-Learning คือ รูปแบบของการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยอาศัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือสื่ออิเลคทรอนิกส์ในการถ่ายทอดเรื่องราว และเนื้อหา โดยสามารถมีสื่อในการนำเสนอบทเรียนได้ตั้งแต่ 1 สื่อขึ้นไป และการเรียนการสอนนั้นสามารถที่จะอยู่ในรูปของการสอนทางเดียว หรือการสอนแบบปฎิสัมพันธ์ได้

ประโยชน์ของ e-Learning
ยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนเนื้อหา และ สะดวกในการเรียน
การเรียนการสอนผ่านระบบ e-Learning นั้นง่ายต่อการแก้ไขเนื้อหา และกระทำได้ตลอดเวลา เพราะสามารถกระทำได้ตามใจของผู้้สอน เนื่องจากระบบการผลิตจะใช้ คอมพิวเตอร์เป็นองค์ประกอบหลัก นอกจากนี้ผู้เรียนก็สามารถเรียนโดยไม่จำกัดเวลา และสถานที่
เข้าถึงได้ง่าย
ผู้เรียน และผู้สอนสามารถเข้าถึง e-learning ได้ง่าย โดยมากจะใช้ web browser ของค่ายใดก็ได้ (แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับผู้ผลิตบทเรียน อาจจะแนะนำให้ใช้ web browser แบบใดที่เหมาะกับสื่อการเรียนการสอนนั้นๆ) ผู้เรียนสามารถเรียนจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใดก็ได้ และในปัจจุบันนี้ การเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ตกระทำได้ง่ายขึ้นมาก และยังมีค่าเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่มีราคาต่ำลงมากว่าแต่ก่อนอีกด้วย
ปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยกระทำได้ง่าย
เนื่องจากผู้สอน หรือผู้สร้างสรรค์งาน e-Learning จะสามารถเข้าถึง server ได้จากที่ใดก็ได้ การแก้ไขข้อมูล และการปรับปรุงข้อมูล จึงทำได้ทันเวลาด้วยความรวดเร็ว
ประหยัดเวลา และค่าเดินทาง
ผู้เรียนสามารถเรียนโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ โดยจำเป็นต้องไปโรงเรียน หรือที่ทำงาน รวมทั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องประจำก็ได้ ซึ่งเป็นการประหยัดเวลามาก การเรียน การสอน หรือการฝึกอบรมด้วยระบบ e-Learning นี้ จะสามารถประหยัดเวลาถึง 50% ของเวลาที่ใช้ครูสอน หรืออบรม
จากประโยชน์ของ e-Learning ดังกล่าวนี้ ทำให้ภาคเอกชนเป็นจำนวนมากหันมานิยมใช้ระบบ e-learning ในการพัฒนาบุคลากรมากขึ้น

Learning Management System (LMS)

LMS, WBI และ Virtual Classroom นั้น มีลักษณะเหมือนกันคือ ใช้เว็บเป็นฐานในการจัดการเรียนการสอน LMS เน้นที่การใช้เพื่อบริหารจัดการการเรียนการสอนทั้งในห้องเรียนปกติและในห้องเรียนเสมือน เพื่อช่วยให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ WBI เน้นการนำเสนอเนื้อหาของรายวิชาทางเว็บ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และทบทวนได้ตามศักยภาพของผู้เรียน Virtual Classroom เน้นการจัดกิจกรรมในเว็บที่จำลองกิจกรรมต่างๆ ให้เหมือนหรือใกล้เคียงกับห้องเรียนปกติ


LMS ย่อมาจาก Learning Management System เป็นระบบที่ใช้บริหารจัดการการเรียนรู้ที่อำนวยความสะดวกในการจัดกลุ่มเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ การสื่อสารโต้ตอบระหว่างผู้สอน (Instructor/Teacher) กับผู้เรียน(Student) รวมทั้งการสร้างแบบทดสอบ การทดสอบและการประเมินผลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยโปรแกรมที่ใช้สร้างระบบ LMS


ในปัจจุบันมีให้เลือกอยู่ 2 ลักษณะคือ

•ซอฟต์แวร์ฟรี (Open Source LMS) ที่มีลิขสิทธิ์แบบ GPL

เช่น Moodle, ATutor, Claroline, LearnSquare, VClass, Sakai, ILIAS
•ซอฟต์แวร์ที่บริษัทเอกชนพัฒนาเพื่อขายโดยเฉพาะ (Commercial LMS)

เช่น Blackboard Learning System, WebCT, Lotus Learning Management System, Education Sphere, Dell Learning System (DLS), De-Learn, i2 LMS
การนำระบบ LMS ไปประยุกต์ใช้งาน
ระบบ LMS สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างหลากหลายอาทิ สถาบันการศึกษา ศูนย์ฝึกอบรม หน่วยงานราชการ บริษัทเอกชน โดยในการนำไปใช้งานผู้ใช้สามารถ ปรับการใช้งานให้เหมาะสมกับหน่วยงาน จุดประสงค์หลักในการพัฒนาระบบขึ้นมาก็เพื่อสร้างระบบการเรียนรู้ใช้งานในหน่วยงานทั้งระบบ E-Learning หรือระบบ Knowledge Management(KM)

ผู้ใช้งานในระบบ LMS
สำหรับผู้ใช้งานในระบบ LMS นั้นสามารถที่จะแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

•กลุ่มผู้บริหารระบบ (Administrator) ทำหน้าที่ในการติดตั้งระบบ LMS การกำหนดค่าเริ่มต้นของระบบ การสำรองฐานข้อมูล การกำหนดสิทธิ์การเป็นผู้สอน
•กลุ่มอาจารย์หรือผู้สร้างเนื้อหาการเรียน (Instructor / Teacher) : ทำหน้าที่ในการเพิ่มเนื้อหา บทเรียนต่างๆ เข้าระบบ อาทิ ข้อมูลรายวิชา ใบเนื้อหา เอกสารประกอบการสอน การประเมินผู้เรียนโดยใช้ข้อสอบ ปรนัย อัตนัย การให้คะแนน ตรวจสอบกิจกรรมผู้เรียน ตอบคำถาม และสนทนากับนักเรียน
•กลุ่มผู้เรียน(Student/Guest) : หมายถึงนักเรียน นักศึกษา ที่สมัครเข้าเรียนตามหัวข้อต่าง ๆ รวมทั้งการทำแบบฝึกหัด ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้สอน โดยอาจารย์สามารถทำการแบ่งกลุ่มผู้เรียนได้ และสามารถตั้งรหัสผ่านในการเข้าเรียนแต่ละวิชาได้

การจัดการความรู้ KM

Knowledge management

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การจัดการความรู้ คือ การรวบรวม สร้าง จัดระเบียบ แลกเปลี่ยน และประยุกต์ใช้ความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาระบบจาก ข้อมูล ไปสู่ สารสนเทศ เพื่อให้เกิด ความรู้ และ ปัญญา ในที่สุด

การจัดการความรู้ประกอบไปด้วยชุดของการปฏิบัติงานที่ถูกใช้โดยองค์กรต่างๆ เพื่อที่จะระบุ สร้าง แสดงและกระจายความรู้ เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้และการเรียนรู้ภายในองค์กร อันนำไปสู่การจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการธุรกิจที่ดี องค์กรขนาดใหญ่โดยส่วนมากจะมีการจัดสรรทรัพยากรสำหรับการจัดการองค์ความรู้ โดยมักจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศหรือแผนกการจัดการทรัพยากรมนุษย์

รูปแบบการจัดการองค์ความรู้โดยปกติจะถูกจัดให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ขององค์กรและประสงค์ที่จะได้ผลลัพธ์เฉพาะด้าน เช่น เพื่อแบ่งปันภูมิปัญญา,เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน, เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน, หรือเพื่อเพิ่มระดับนวัตกรรมให้สูงขึ้น

นิยาม
ปัจจุบันโลกได้เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-based Economy – KBE) งานต่างๆ จำเป็นต้องใช้ความรู้มาสร้างผลผลิตให้เกิดมูลค่าเพิ่มมากยิ่งขึ้น การจัดการความรู้เป็นคำกว้างๆ ที่มีความหมายครอบคลุมเทคนิค กลไกต่างๆ มากมาย เพื่อสนับสนุนให้การทำงานของแรงงานความรู้ (Knowledge Worker) มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น กลไกดังกล่าวได้แก่ การรวบรวมความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ที่ต่างๆ มารวมไว้ที่เดียวกัน การสร้างบรรยากาศให้คนคิดค้น เรียนรู้ สร้างความรู้ใหม่ๆ ขึ้น การจัดระเบียบความรู้ในเอกสาร และทำสมุดหน้าเหลืองรวบรวมรายชื่อผู้มีความรู้ในด้านต่างๆ และที่สำคัญที่สุด คือการสร้างช่องทาง และเงื่อนไขให้คนเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน เพื่อนำไปใช้พัฒนางานของตนให้สัมฤทธิ์ผล

ประเภทของความรู้
ความรู้สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้สองประเภท คือ ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และความรู้แฝงเร้น หรือความรู้แบบฝังลึก (Tacit Knowledge) ความรู้ชัดแจ้งคือความรู้ที่เขียนอธิบายออกมาเป็นตัวอักษร เช่น คู่มือปฏิบัติงาน หนังสือ ตำรา เวปไซด์ Blog ฯลฯ ส่วนความรู้แฝงเร้นคือความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน ไม่ได้ถอดออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร หรือบางครั้งก็ไม่สามารถถอดเป็นลายลักษณ์อักษรได้ ความรู้ที่สำคัญส่วนใหญ่ มีลักษณะเป็นความรู้แฝงเร้น อยู่ในคนทำงาน และผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่อง จึงต้องอาศัยกลไกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้คนได้พบกัน สร้างความไว้วางใจกัน และถ่ายทอดความรู้ระหว่างกันและกัน

ระดับของความรู้
หากจำแนกระดับของความรู้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ คือ

1.ความรู้เชิงทฤษฏี (Know-What) เป็นความรู้เชิงข้อเท็จจริง รู้อะไร เป็นอะไร จะพบในผู้ที่สำเร็จการศึกษามาใหม่ๆ ที่มีความรู้โดยเฉพาะความรู้ที่จำมาได้จากความรู้ชัดแจ้งซึ่งได้จากการได้เรียนมาก แต่เวลาทำงาน ก็จะไม่มั่นใจ มักจะปรึกษารุ่นพี่ก่อน
2.ความรู้เชิงทฤษฏีและเชิงบริบท (Know-How) เป็นความรู้เชื่อมโยงกับโลกของความเป็นจริง ภายใต้สภาพความเป็นจริงที่ซับซ้อนสามารถนำเอาความรู้ชัดแจ้งที่ได้มาประยุกต์ใช้ตามบริบทของตนเองได้ มักพบในคนที่ทำงานไปหลายๆปี จนเกิดความรู้ฝังลึกที่เป็นทักษะหรือประสบการณ์มากขึ้น
3.ความรู้ในระดับที่อธิบายเหตุผล (Know-Why) เป็นความรู้เชิงเหตุผลระหว่างเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ ผลของประสบการณ์แก้ปัญหาที่ซับซ้อน และนำประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น เป็นผู้ทำงานมาระยะหนึ่งแล้วเกิดความรู้ฝังลึก สามารถอดความรู้ฝังลึกของตนเองมาแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นหรือถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้พร้อมทั้งรับเอาความรู้จากผู้อื่นไปปรับใช้ในบริบทของตนเองได้
4.ความรู้ในระดับคุณค่า ความเชื่อ (Care-Why) เป็นความรู้ในลักษณะของความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ที่ขับดันมาจากภายในตนเองจะเป็นผู้ที่สามารถสกัด ประมวล วิเคราะห์ความรู้ที่ตนเองมีอยู่ กับความรู้ที่ตนเองได้รับมาสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาได้ เช่น สร้างตัวแบบหรือทฤษฏีใหม่หรือนวัตกรรม ขึ้นมาใช้ในการทำงานได้

CMS
ความหมายของ Content Management System (CMS)

ระบบการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์(Content Management System : CMS) คือ ระบบที่พัฒนา คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยลดทรัพยากรในการพัฒนา(Development) และบริหาร(Management)เว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกำลังคน ระยะเวลา และเงินทอง ที่ใช้ในการสร้างและควบคุมดูแลไซต์

โดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะนำเอา ภาษาสคริปต์(Script languages) ต่างๆมาใช้ เพื่อให้วิธีการทำงานเป็นแบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็น PHP, Perl, ASP, Python หรือภาษาอื่นๆ(แล้วแต่ความถนัดของผู้พัฒนา) ซึ่งมักต้องใช้ควบคู่กันกับโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์(เช่น Apache) และดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์(เช่น MySQL)




ลักษณะเด่นของ CMS

มีส่วนของ Administration panel(เมนูผู้ควบคุมระบบ) ที่ใช้ในการบริหารจัดการส่วนการทำงานต่างๆในเว็บไซต์ ทำให้สามารถบริหารจัดการเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว และเน้นที่การ จัดการระบบผ่านเว็บ(Web interface) ในลักษณะรูปแบบของ ระบบเว็บท่า(Portal Systems) โดยตัวอย่างของฟังก์ชันการทำงาน ได้แก่ การนำเสนอบทความ(Articles), เว็บไดเรคทอรี(Web directory), เผยแพร่ข่าวสารต่างๆ(News), หัวข้อข่าว(Headline), รายงานสภาพดินฟ้าอากาศ(Weather), ข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจ(Informations), ถาม/ตอบปัญหา(FAQs), ห้องสนทนา(Chat), กระดานข่าว(Forums), การจัดการไฟล์ในส่วนดาวน์โหลด(Downloads), แบบสอบถาม(Polls), ข้อมูลสถิติต่างๆ(Statistics) และส่วนอื่นๆอีกมากมาย ที่สามารถเพิ่มเติม ดัดแปลง แก้ไขแล้วประยุกต์นำมาใช้งานให้เหมาะสมตามแต่รูปแบบและประเภทของเว็บไซต์นั้นๆ



ตัวอย่างของเว็บที่สร้างจาก CMS

· Slashdot=>พัฒนาด้วย Perl

· Zope=>พัฒนาด้วย Python

· PHP-Nuke =>พัฒนาด้วย PHP

· Joomla =>พัฒนาด้วย PHP **** ได้รับความนิยมมากในปัจุบัน อ่านต่อที่นี่




การประยุกต์ใช้ CMS
ระบบ CMS สามารถนำมาประยุกต์ในงานต่างๆ หลากหลาย ตัวอย่างการนำซอฟต์แวร์ CMS มา
ประยุกต์ใช้งาน อาทิเช่น
>> การนำ CMS มาใช้ในการสร้างเว็บไซต์สถาบันการศึกษา ธุรกิจบันเทิง หนังสือพิมพ์ การเงิน การ
ธนาคาร หุ้นและการลงทุน อสังหาริมทรัพย์ งานบุคคล งานประมูล สถานที่ท่องเที่ยว งานให้บริการลูกค้า
>> การนำ CMS มาใช้ในหน่วยงานของรัฐ อาทิเช่น งานข่าว งานประชาสัมพันธ์ การนำเสนองานต่างๆ
ขององค์กร
>> การใช้ CMS สร้างไซต์ ส่วนตัว ชมรม สมาคม สมาพันธ์ โดยวิธีการแบ่งงานกันทำ เป็นส่วนๆ ทำให้
เกิดความสามัคคี ทำให้มีการทำงานเป็นทีมเวิร์คมากยิ่งขึ้น
>> การนำ CMS มาใช้ในการสร้างเว็บไซต์สำหรับธุรกิจ SME โดยเฉพาะสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
หรือ OTOP กำลังได้รับความนิยมสูง
>> การนำ CMS มาใช้แทนโปรแกรมลิขสิทธิ์ อื่นๆ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และง่ายต่อการพัฒนา
>> การใช้ CMS ทำเป็น Intranet Web Site สร้างเว็บไซต์ใช้ภายในองค์กร

ที่มา: Computer Education : Khon Kaen University